Image by : opensource.com
โดย Heiko R. Rupp
อะไรบ้างที่สกัดกั้นไม่ให้คุณทำงานในที่เปิด?
ผมทำงานให้กับบริษัทโอเพนซอร์สเกี่ยวกับโปรเจกต์โอเพนซอร์ส และกระนั้น ก็ยังพบอยู่ทุกวันว่าคนที่ทำงานกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สนิยมที่จะทำงานส่วนตัวลำพังมากกว่าในบางครั้ง คนเหล่านี้ไม่ค่อยจะพูดคุยถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นทางเทคนิคใน public mailing list สักเท่าไหร่ หากจะสนทนากันก็มักจะทำในห้องสนทนาภายในมากกว่าที่จะสนทนาทาง public IRC และหากมีฟีเจอร์ใหม่ๆออกมา ก็มักจะทำเป็นเดโมทาง video conference ส่วนตัว มากกว่าช่องทางอื่นเช่น Hangout on Air
แน่นอนว่ามีเหตุผลดีๆอยู่ที่ว่าเหตุใดการสื่อสารต้องกระทำในรูปแบบที่ส่วนตัว เพราะว่าหากมีลุกค้าหรือข้อมูลลูกค้าเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อใด การสนทนาติดต่อสื่อสารที่เป็นส่วนตัวยิ่งจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นจริงๆสำหรับเรื่องยอดขายหรือประเด็นอื่นๆด้านการเงินด้วย แต่ประเด็นก็คือว่า จริงๆแล้วอย่างวิศวกรเองก็ไม่ได้รับรู้เรื่องยอดขายสักเท่าไหร่ ประเด็นเกี่ยวกับลูกค้าเองส่วนใหญ่ก็เป็นปัญหาทั่วๆผด้านซอฟท์แวร์ที่สามารถพูดคุยหารือกันได้อย่างเปิดเผยโดยไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อลูกค้าออกมาด้วยซ้ำ นี่ทำให้ผมอยากจะพูดถึงคำถามว่าเหตุใดผู้คนจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือกันในที่เปิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ source code ในตอนท้ายก็ต้องนำไปสู่แหล่งสาธารณะอย่าง GitHub อยู่ดี
เมื่อคุณร่วมงานกับลูกค้า จะมีบางกลุ่มเสมอ เช่น กลุ่มสนับสนุนลูกค้า ที่ไม่สามารถถกประเด็นต่างๆในที่สาธารณะได้ ซึ่งหมายความว่าไม่สามารถร่วมสนทนาใน public IRC ได้ ต้องเป็นการสนทนาแบบส่วนตัวเพื่อปกปิดข้อมูลของลูกค้า วิศวกรที่ทำงานกับลูกค้าเองก็อาจจะมีความกลัวอยู่ลึกๆว่าการหารือถกประเด็นต่างๆอาจจะเป็นการทำให้ข้อมูลรั่วไหลในช่องทางภายใน ไม่ว่าจะมีการพูดถึงประเด็นเฉพาะของลูกค้าหรือไม่ก็ตาม ซึ่งนำไปสู่ประเด็นต่อไป
เมื่อคุณทำงานเกี่ยวกับข้อมูลลูกค้าผ่านทางช่องทางภายใน (และอาจจะเพราะว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถติดต่อได้ผ่านทางช่องทางนี้เท่านั้น) คุณจะต้องคิดและตัดสินใจอยู่เสมอว่าข้อความหรือข้อมูลบางอย่างสามารถเผยแพร่สู่ช่องทางสาธารณะภายนอกได้หรือไม่ บางคนอาจจะเข้าใจว่าหากมีการสนทนาเกิดขึ้นในช่องทางภายใน ก็ควรให้มันอยู่ภายในเพื่อคงรักษาความเป็นเอกภาพของเนื้อหาสาระ ไม่ให้ขาดตอน ส่วนการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่ไม่เกี่ยวกับลูกค้า ก็ควรจะอยู่ในช่องทางสาธารณะ และนี่หมายถึงการที่ต้องสลับเปลี่ยนช่องทางไปมาอยู่ตลอด แน่นอน การสลับเปลี่ยนช่องทางการสื่อสารไปมาแบบนี้ เป็นสิ่งที่คนมักจะเลี่ยง
อาจจะมีบางกรณีที่วิศวกรกำลังทำเกี่ยวกับการขอสร้างฟีเจอร์หรือแก้ไข bug จากลูกค้า ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องเจาะจงกับลุกค้าคนใดคนหนึ่งด้วยซ้ำ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีความไม่แน่นอนใจอยู่ว่าประเด็นเหล่านี้ควรจะนำมาหารือกันในที่สาธารณะหรือไม่ และพอสงสัย ทุกอย่างก็ย้อนกลับไปดำเนินในช่องทางส่วนตัวเช่นเดิม
ในขณะที่การช่วยทำประโยชน์ต่อชุมชนผู้ใช้มักจะกล่าวกันว่าต้อนรับเปิดกว้างสำหรับทุกคน ก็ยังสามารถมองได้ว่าเป็นแหล่งของสิ่งที่รบกวนสมาธิด้วย สมาชิกหลักบางคนของโปรเจกต์หนึ่งๆอาจจะต้องหยุดพักงานของตนชั่วคราว และต้องเริ่มคิดถึงทัศนะของสมาชิกอื่นๆของชุมชน และค่อยกลับมาทำงานตนต่อในภายหลัง นี่เองที่ทำให้ความมุ่งมั่นและสมาธิการทำงานถูกรบกวน โดยเแพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณกำหนดกรอบในการปล่อยงานของคุณเรียบร้อยแล้ว นี่อาจจะไม่น่ายินดีสักเท่าไหร่นัก
โปรเจกต์ของเรามีชุมชนผู้ใช้ที่ค่อนข้างเล็ก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดคำถามตามมาเช่น ทำไมต้องสนทนาหารือแบบสาธารณะเล่าในเมื่อดูเหมือนไม่มีเลยสนใจด้วยซ้ำ ทำไมต้องเสียเวลากับประเด็นข้างต้นที่กล่าวมา ในเมื่อไม่มีคนมองหรือสนใจ แล้วจะมีประโยชน์อะไรที่จะต้องลงลึกในรายละเอียด
เหตุผลที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องความกลัวที่จะต้องรับผิดชอบกับกลัวเรื่องการสืบต้นตอ ในตอนแรกนี่อาจจะฟังดูตลกไร้สาระดี เพราะว่า source code ทั้งหลายอย่างไรเสียก็ต้องไปรวมกันในคลังสาธารณะอยู่แล้ว สาเหตุเบื้องลึกที่แท้จริงน่าจะเป็นเรื่องของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อมีการสนทนาหารือในที่สาธารณะและถูกบันทึกไว้เป็น chat log วิดีโอ หรือโพสในบล็อกต่างๆ ก็ทำให้สาธารณะชนวิพากษ์วิจารณ์ให้ความเห็น ซึ่งทำให้ขาดความมั่นใจได้
ผมเป็นคนที่เชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าการทำงานในที่เปิดสาธารณะเป็นเรื่องดี แม้จะเป็นชุมชนขนาดเล็กก็ตาม การทำงานในที่เปิดช่วยให้คุณสามารถติดตามผลลัพธ์จากสมาชิกคนอื่นๆได้ ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ หลายคนอาจจะมีมุมมองทัศนะที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง และให้ประเด็นต่างๆมาขบคิดแบบที่คุณไม่เคยเจอมาก่อน นอกจากนี้แล้วหากสมาชิกของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในวงกว้างอีกทีหนึ่ง จะทำให้พวกเขารู้สึกดี มีกำลังใจ และเริ่มทำประโยชน์มากขึ้น สำหรับแนวคิดว่าจะสามารถทำประโยชน์แก่ชุมชนผู้ใช้ได้อย่างไรบ้างนอกเหนือไปจากการเขียนโค้ด สามารถดูได้ที่บทความของผม: 10 ways to contribute to an open source project without writing code
การพบปะสมาชิกชุมชนแต่ละครั้งของผมผ่านไปด้วยดี เนื่องจากทุกคนล้วนเป็นมิตร และการไปเจอสมาชิกตัวต่อตัวนั้นน่าสนุกยิ่งนัก ดังนั้น เราจะทำอย่างไรดีเพื่อเอาชนะอุปสรรคหลายๆประการที่ผมกล่าวมาตอนต้น
มี 114 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์