สมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส (OSEDA) ร่วมกับ Joomla User Group Bangkok บ.มาร์เวลิค เอ็นจิ้น จก. และ HUBBA ขอเชิญร่วมงาน Software Freedom Day 2014 ในวันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 13:00 - 17:00 น. ที่ HUBBA เอกมัย ซอย 4 รับเพียง 40 ท่านเท่านั้น (งานฟรี)
งาน Software Freedom Day (SFD) คืองานที่จัดขึ้นพร้อมกับทั่วโลก โดยในปีนี้ได้กำหนดให้จัดขึ้นพร้อมกันในวันที่ 20 กันยายน 2557 เพื่อเป็นการให้ความรู้และความตระหนักต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีที่โปร่งใส เทคโนโลยีในระบบเปิด (Open Source) ที่ทุกคนมีเสรีภาพเท่าเทียมกันที่จะตรวจสอบซอฟต์แวร์ต่างๆ เหล่านั้นได้
ในปีนี้สมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส ได้ร่วมจัดงานนี้ขึ้นโดยความร่วมมือกับ Joomla User Group Bangkok บริษัทมาร์เวลิค เอ็นจิ้น จำกัด และ HUBBA ซึ่งได้ให้การสนับสนุนสถานที่จัดงาน โดยงานจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13:00 น. และสิ้นสุดในเวลา 17:00 น. (งานเริ่มตรงเวลา) ภายในงานจะประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
13:00 - 13:30 น. ลงทะเบียน
13:30 - 13:45 น. เปิดงานโดย OSEDA / Hubba
13:45 - 14:00 น. เราคือใครใน Open Source (ทำความรู้จักกันแนะนำตัว)
14:00 - 14:20 น. ฤทธิชัย สุฟู - vTigerCRM 6 ภาษาไทย (CRM)
14:20 - 14:40 น. Kitisak Jirawannakool - ใครว่า Open Source ไม่ปลอดภัย
14:40 - 15:00 น. อัครวุฒิ ตำราเรียง - CitrusCart Enterprise-Class e-commerce Solution for Joomla!
15:00 - 15:30 น. Networking
15:30 - 15:50 น. ธรรมธัช ศรีเพ็ญ (อ้น) - ประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจด้วย Open Source ดีหรือแย่ลงอย่างไร
15:50 - 16:40 น. Open Sessions (Drupal 8 , FlexiContent, อื่นๆ แล้วแต่ผู้มาร่วมงาน)
16:40 - 17:00 น. ปิดงาน ถ่ายภาพร่วมกัน
[ คลิกลงทะเบียนร่วมงาน ]
ถ่ายทอดสด
http://www.youtube.com/v/g0YCONw_-9Q
บทความโดย Pia Waugh
ในช่วงเวลาที่ชีวิตเราต่างพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตเรา ความสำคัญของเทคโนโลยีที่น่าไว้วางใจเหล่านี้มิได้มีเพื่อจำกัดตีกรอบเรา หากมีเพื่อนำพาเราไปในวิถีแห่งโอกาส นวัตกรรม และอิสรภาพของผู้คนทั้งมวล
คำประกาศสากลสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ คือชุดของสิทธิมนุษยชนพื้นฐานขั้นต่ำที่คนส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้อง ไม่บ่อยนักที่สิทธิมนุษยชนจะเกี่ยวข้องกับบริบทของเทคโนโลยี แต่เนื่องจากชีวิตเราต่างต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากขึ้น เทคโนโลยีที่มีจำเป็นต่ออิสรภาพของเราถูกใช้ในระบบการลงคะแนนเสียง เวลาว่าง การศึกษา ศิลปะ และการสื่อสารของเรา นี่หมายความว่าอะไรหรือ? มันหมายความว่าอิสรภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่เรามองว่าเป็นของตาย มีราคาความสำคัญเท่าๆกับเทคโนโลยีที่เราใช้กันนั่นเอง
เทคโนโลยีที่โปร่งใสและยั่งยืนนั้นจำเป็นในการยืนยันว่า เราสามารถปกป้องอิสรภาพของเราเองได้ ลองนึกภาพถึงระบบ e-Government เช่นการลงคะแนนเสียงอิเลคทรอนิก เมื่อระบบดำเนินการลงคะแนนเสียงมีกรรมสิทธิ์และปิดตัวลง เราก็ไม่สามารถแน่ใจได้อีกต่อไปว่าซอฟท์แวร์นั้นทำอะไรไป และเราจะเชื่อผลที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ประเด็นที่เกิดขึ้นกับระบบการลงคะแนนเสียง Diebold ของสหรัฐ เป็นข้อพิสูจน์ว่าจำเป็นที่จะต้องมีระบบที่โปร่งใสและไว้ใจได้ ลองนึกถึงซอฟต์แวร์อื่นๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มีกรรมสิทธิ์แต่ในขณะเดียวกันคุณไม่อาจแน่ใจได้เลยว่าจริงๆแล้วมันทำอะไร ระบบอีเมลของคุณส่งสำเนาอีเมลไปยังคนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่? เว็บเบราเซอร์ของคุณเข้าใช้เองโดยอัตโนมัติและแอบส่งประวัติการใช้งานของคุณให้คนอื่นหรือไม่? กรณีน่าสนใจล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ Sony จงใจใส่ spyware ในผลิตภัณฑ์ CD ที่ติดตั้งตัวเองโดยอัตโนมัติอย่างเงียบเชียบในระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เพื่อตรวจหาการละเมิดลิขสิทธิ์ พฤติกรรมดังกล่าวได้บ่มเพาะไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวในระดับกว้าง
ดังนั้น ที่พูดว่าโปร่งใสนั้น ฉันหมายถึงอะไรหรือ? ซอฟต์แวร์บางอย่างอนุญาตให้คุณเข้าถึง source code ได้ เช่น Free and Open Source Software (FOSS) ที่ช่วยให้คุณสามารถรู้ได้แน่ๆว่าซอฟต์แวร์แต่ละประเภททำอะไร ไม่ต้องเจอกับสิ่งแผลงๆ spyware การแหกตา และประเด็นอื่นๆที่เราไม่อาจแน่ใจได้เลยว่าจะไม่เจอในซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ปิดบังไม่ให้สาธารณะชนตรวจสอบ source code ได้ ซึ่งหมายความว่าเราไม่อาจแน่ใจได้เลยว่าซอฟต์แวร์เหล่านั้นจริงๆแล้วทำอะไร และแน่นอน ไม่อาจเชื่อใจได้เลยที่จะให้ซอฟต์แวร์เหล่านี้ช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนของเรา ดังนั้น เทคโนโลยีที่โปร่งใสจึงเป็นเรื่องของการยืนยันว่า เราสามารถเชื่อใจการทำงานและผลลัพธ์ของเทคโนโลยี
เทคโนโลยีที่ยั่งยืนก็สำคัญ และตัวอย่างที่ดีของประเด็นดังกล่าวคือเรื่องรูปแบบกรรมสิทธิ์ เหตุใดคนในยุคสมัยปัจจุบันจึงไม่สามารถเข้าถึงจดหมายรัก บทความ หรือบทกลอนในวัยเยาว์ของพวดเขาได้ แอพพลิเคชั่นมากมายที่ใช้รูปแบบกรรมสิทธิ์ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในโปรแกรมอื่นหรือกระทั่งเวอร์ชันใหม่ของโปรแกรมนั้นๆได้ แต่เมื่อข้อมูลถูกเก็บในรูปแบบที่ใช้มาตรฐาน Open Source ผู้คนจากทุกแห่งก็เข้าถึง ใช้ได้ง่าย เข้าถึงได้ง่ายจากหลายแอพพลิเคชั่น นับจากปัจจุบันถึงอนาคต ดังนั้น เทคโนโลยีที่ยั่งยืนจึงเป็นเรื่องของการยืนยันว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ตลอดไป
เนื่องจากประชากรโลกมากขึ้นต่างใช้เทคโนโลยี เข้าสู่โลกออนไลน์ พัฒนาเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เปลี่ยนชีวิตมนุษย์ (ดังเช่นที่อินเตอร์เนตเปลี่ยนชีวิตเราจำนวนมาก) การยืนยันวิถีทางที่เปิดกว้าง โปร่งใส และยั่งยืน นั้นสำคัญมาก สำคัญต่ออนาคต ที่เทคโนโลยีส่งเสริมทุกคนอย่างเท่าเทียม ที่ที่ความรู้อยู่ชั่วนิรันดร์ ที่ที่อิสรภาพพื้นฐานของมนุษย์ถูกเสริมสร้างให้มั่นคงด้วยเทคโนโลยี หาใช่ถูกทำให้หยุดชะงักด้วยเทคโนโลยี
Software Freedom Day เป็นการเฉลิมฉลองและการให้ความรู้ทั่วโลกว่าเหตุใดเทคโนโลยีที่โปร่งใสและยั่งยืนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด มากกว่า 200 ทีมจาก 60 ประเทศทั่วโลกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นี้ และเป็นโอกาสพิเศษที่จะให้โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วม โปรดเข้าร่วมเหตุการณ์นี้ในท้องถิ่นของคุณ พบปะกับผู้คนมากมาย ที่ทุกฝ่ายต่างร่วมแรงร่วมใจกันยืนยันว่าอิสรภาพของเรานั้นผดุงไว้ด้วยเทคโนโลยีแห่งอนาคต
We have 52 guests and no members online